เมนู

คาถาที่ 18


คาถาว่า สีตญฺจ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี พระราชาพระนามว่า สีตาลุกพรหมทัต
ท้าวเธอทรงผนวชแล้ว ประทับอยู่ในกุฏิป่า ก็ครั้นประเทศนั้นหนาว ก็มี
ความหนาว เมื่อร้อน ก็มีความร้อนเท่านั้น เพราะเป็นประเทศตั้งอยู่ในที่โล่ง
ภิกษาในโคจรคามก็ไม่ได้ตามความต้องการ แม้น้ำดื่มสำหรับผู้ดื่ม ก็หาได้ยาก
แม้ลม เหลือบ สัตว์เลื้อยคลานก็เบียดเบียน พระองค์ทรงพระราชดำริดังนี้ว่า
ในที่ประมาณกึ่งโยชน์จากนี้ มีประเทศที่สมบูรณ์ อันตรายทางสรีระเหล่านั้น
แม้ทั้งหมด ย่อมไม่มีในประเทศนั้น อย่าเลย เราพึงไปในประเทศนั้น เมื่อ
อยู่เป็นผาสุก ก็อาจบรรลุสุขได้.
พระองค์ทรงมีพระราชดำริอีกว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลาย ไม่ควร
ตกอยู่ในอำนาจปัจจัย และย่อมยังจิตเห็นปานนั้นให้เป็นไปในอำนาจ จะไม่เป็น
ไปในอำนาจของจิต เราจักไม่ไปละ ครั้นทรงพิจารณาแล้ว ไม่เสด็จไป
ทรงพิจารณาจิตที่เกิดแล้วอย่างนี้ถึงสามครั้งแล้ว เสด็จกลับ ตั้งแต่นั้นก็ประทับ
อยู่ในป่านั้นเที่ยวตลอด 7 ปี ทรงปฏิบัติชอบอยู่ ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่ง
พระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ตรัสอุทานคาถานี้ว่า
สีตญฺจ อุณฺหญฺจ ขุทํ ปิปาสํ
วาตาตเป ฑํสสิรึสเป จ
สพฺพานิเปตานิ อภิสมฺภวิตฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป